วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยรัตนโกสินทร์


พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยรัตนโกสินทร์
สังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ในระยะแรกๆมีลักษณะเหมือนกับสังคมไทยในสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี
ต่อมามีการติดต่อสัมพันธ์กับชาติตะวันตกมากขึ้น สังคมไทยจึงปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัย  จนกระทั่งเมื่อไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย สังคมไทยจึงเปลี่ยนแปลงไปภายใต้เสรีภาพที่กำหนดไว้ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญ

4.1  ลักษณะสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ( .. 2325-2394 )
สังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงมีลักษณะเช่นเดียวกับสังคมไทยสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี คือยังคง
เป็นสังคมศักดินา นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์  พระราชวงศ์  เจ้านาย  ขุนนาง  ไพร่  ทาส  และภิกษุสงฆ์
มีลักษณะ ดังนี้
1) พระมหากษัตริย์   ทรงเป็นประมุขสูงสุดของราชอาณาจักร พระองค์ทรงได้รับยกย่องจากพสกนิกรของพระองค์ว่า  พระองค์ทรงมีลักษณะเป็น สมมติเทพตามลัทธิความเชื่อในศาสนา พราหมณ์-ฮินดู
เป็น ธรรมราชาตามลัทธิความเชื่อในพระพุทธศาสนา
2) พระราชวงศ์  หมายถึง  เจ้านาย ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือญาติของพระมหากษัตริย์บางทีเรียกว่า
พระบรมวงศานุวงศ์ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  สกุลยศ กับ อิสริยยศ
   ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สกุลยศมีอยู่ 3 ตำแหน่ง  คือ  เจ้าฟ้า  พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า 
ส่วนอิสริยยศ คือ พระยศเจ้า ที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯให้เลื่อนขึ้น
  อิสริยยศที่สำคัญที่สุด ได้แก่  มหาอุปราช นอกจากนี้การได้รับตำแหน่งทรงกรมก็ถือเป็นอิสรยยศด้วยเหมือนกัน  ได้แก่ กรมหมื่น  กรมขุน  กรมหลวง และกรมสมเด็จพระ
๓)  ขุนนาง  คือบุคคลที่รับราชการแผ่นดิน  มีศักดินา  ยศ   ราชทินนาม  และตำแหน่งเป็นเคื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ  ถ้าจะกล่าวอีกันยหนึ่งขุนนางก้คือ  บรรดาข้าราชการของแผ่นดิน  ขุนนางที่มีศักดินา  ๔00  ไร่  ขึ้นไปจะได้รับโปรดเกล้า ฯ  แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์  แต่ถ้าศักดินาต่ำกว่า  ๔00  ไร่ ลงมา  จะได้รับแต่งตั้งจากเสนาบดี    ยศของขุนนางมี  ๘  ลำดับ จากสูงสุดลงมาจนถึงต่ำสุด  คือ  สมเด็จเจ้าพระยา  เจ้าพระยา   พระยา   พระ   หลวง   ขุน หมื่น และพัน
๔) ไพร่  คือ ราษฎรที่เป็นชายฉกรรจ์ที่มีความสูงเสมอไหล่  ๒  ศอกครึ่ง  จะ๔กมูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีไว้เพื่อเกณฑ์แรงงานไปใช่ในราชการต่างๆ 
                   ไพร่แบ่งเป็นประเภทตามสังกัดได้เป็น  ๒  ประเภท
๔.๑)  ไพร่หลวง  หมายถึง  ไพร่ที่พระราชทานแก่กรมกองต่างๆ  เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง  ไพร่หลวงแบ่งเป็น  ๒  ประเภท  คือ  ไพร่หลวง  ที่ต้องมารับราชการตามที่ทางกำหนดให้ หากมาไมได้ต้องให้ผู้อื่นไปแทนหรือส่งเงินมาแทนการรับราชการ และไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินแต่ไม่ต้องมารับราชการ  เรียกไพร่ประเภทนี้ว่า ไพร่หลวงส่วย
๔.๒)  ไพร่สม  หมายถึง  ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แกเจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทำราชการเพื่อประโยชน์  เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีเงินเดือน  การควบคุมไพร่ของมูลนาย  หมายถึง การได้รับผลประโยชน์ตอบแทน  เช่น  ส่วนลดจากการเก็บเงินค่าราชการของกำนันจากไพร่  เป็นต้น

๕)  ทาส  หมายถึง  บุคคลที่มิได้เป็นกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเองแต่กลับตกเป็นทาสของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส  นายมีสิทธิในการซื้อขายทาสได้ลงโทษทุบตีทาสได้  แต่จะให้ถึงตายไม่ได้  ทาสมีศักดินา  ๕ไร่   สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ทาสมีหลายประเภท  เช่น  ทาสสินไถ่ (ทาสไถ่มาด้วยทรัพย์)  ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย  ทาสที่ได้มาจากข้างฝ่ายบิดามารดา  เป็นต้น

๖)  พระภิกษุสงฆ์  เป็นผู้สืบทอดพระพุทธสาสนา  จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน  เป็นที่เคารพนับถือของคนไทยทุกระดับ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประมุขฝ่ายพระสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราชจะได้รับสถาปนาจากพระมหากษัตริย์
          พระภิกษุสงฆ์จะมีตำแหน่งสูงต่ำลดหลั่นกันไป  นับตั้งแต่พะภิกษุสงฆ์ธรรดา  พระครู  พระราชาคณะ  และสูงสุดคือ สมเด็จพระสังฆราชประมุขของคณะสงฆ์และมีศักดินาลดหลั่นกันไปตามลำดับ


๗) ชาวต่างชาติ   ที่อาศัยอยู่ในไทยโดยการอพยพหนีภัยมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารหรือถูกกวาดต้อนเข้ามา  จัดอยู่ในระบบไพร่ตามกฎหมายศักดินา 

 
                                กล่าวโดยสรปสภาพสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นสังคมศักดินาและอยู่ภายใต้พระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์  คนในสังคมอาจแบ่งตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ต่อกันออกเป็น  ๒  ประเภท  คือ  มูลนาย  ซึ่งประกอบด้วยเจ้านายและขุนนาง  และไพร่  ประกอบด้วยไพร่และทาสมูลนาย  คือ ผู้ปกครอง  และไพร่ คือ ผู้ถูกปกครองสำหรับพระภิกษุสงฆ์เป็นสถาบันสำหรับสืบทอดพระพุทธศาสนา  ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน  พระมหากษัตริย์  ขุนนาง  ไพร่  และทาส  สามารถบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ได้เหมือนกันทั้งหมด


ลักษณะสังคมไทยในยุคปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัย
              ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ ทรงมีพระราชดำริที่จะปลดปล่อยให้ ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ของพระองค์มีอิสระและเกียรติภูมิของความเป็นมนุษย์ของพลเมืองไทย   การปลดปล่อยที่สำคัญและได้ยกย่องว่าเป็นพระราชกรณียกิจ  ก็คือ  การยกเลิกระบบไพร่และทาส
1)              การยกเลิกระบบไพร่ เป็นการแปลงสภาพของคนไทยทั้งมวลให้พ้นจากสถานะของไพร่มาเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ เนื่องจากระบบไพร่มีมานาน ร.5 จึงทรงมีพระบรมราโชบายที่จะยกเลิกระบบไพร่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป  ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นการกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ที่บรรดาพระราชวงค์และขุนนางได้รับจากระบบไพร่
การยกเลิกระบบไพร่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนี้
1.1)     การจัดตั้งกรมทหารมหาเล็กรักษาพระองค์  ใน พ.ศ. 2413ทรงจัดตั้งกรมมหาดเล็กรักษาพระองค์  โยทรงเก็บเอาบรรดาพระราชวงค์และบุตรหลานขุนนางที่ถวายตัวทั้งผู้ใหญ่และเด็กเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
1.2)     การจัดตั้งกรมหน้า  พ.ศ.2423โปรดเกล้าให้จัดตั้งกรมทหารหน้า  โดยการรับสมัครบรรดาพวกไพร่ที่นายของตนตายหรือสินพระชนม์เป็นทหาร ‘’ ทหารสมัคร ‘’
1.3)     การประกาศใช้พระราชบัญญัติทหาร  พ.ศ.2431โปรดเกล้าให้ประกาศใช้ ‘’พระราชบัญญัติทหาร’’โดยกำหนดสิทธิหน้าที่ของพลทหารทั้งทหารบก  ทหารเรือ  พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ  10  ปี จึงจะเกษียณอายุ
1.4)     การประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ  พ.ศ.2431ทรงประกาศใช้ ‘’ พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ ‘’ มีหน้าที่บังคับผู้คนที่เกี่ยวกับทหารบก ทหารเรือ ตามแบบแผนใหม่
1.5)     การจัดระบบจ่ายเงินค่าราชการของไพร่ พ.ศ.2439ได้ประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่เข้าเดือนประจำการต้องเสียเงินแทนค่แรงปีละ 18 บาท  ส่วนไพร่หลวงถ้าไม่ส่งของต้องส่งเงินแทนตั้งแต่  6  บาท  ถึง  12  บาท  ตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่งและตั้งแต่  พ.ศ.2440 เป็นต้นไป
1.6)     การตราพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร พ.ศ.2448โปรดเกล้าให้ตรา ‘’ พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 ’’ กำหนดให้ชายฉกรรจ์ทีมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์รับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี  แล้วปลดไปอยู่ในกองหนุน ผู้ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว
***ดังนั้น  การประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารเมื่อ พ.ศ.2448 จึงถือเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มีมานานหลายศตวรรษ
2)              การเลิกทาส ในการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเอง จำเป็นต้องดำเนินการค่อยเป็นค่อยไป  การยกเลิกทาสโดยฉับพลันย่อมกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่มีทาสอยู่ในความครอบครองตลอดจนความเคยชินของทาสที่เคยมีผู้ปกครองดูแลมาตลอด
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเตรียมการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอน  ดังนี้
2.1)การวางข้อกำหนดเพื่อตระเตรียมการเลิกทาส  พ.ศ.2417ได้มีการประกาศให้ผู้เป็นทาสได้ทำการสำรวจจำนวนทาสของตนที่จะเข้าข่ายของเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติที่จะออกมาในระยะไล่เลี่ยกัน เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
2.2)  การประกาศใช้พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาส ลูกไทยภายหลังการประกาศแผนการที่เตรียมการเลิกทาสใน พ.ศ. 2417  ก็ได้มีการประกาศใช้ ’’ พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาส ลูกไทย ‘’ซึ่งมีรายละเอียดหลายประการ  แต่ที่สำคัญ คือ ถ้าลูกทาสคนใดที่ถูกขายตัวเป็นทาส และเกิด พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่ร.5เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นต้นมาจนถึงอายุ 21 ปี ให้พ้นจากการเป็นทาสทันที  ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2447 ก็ยังคงเป็นทาสต่อไปตามกฎหมายเดิม
2.3)  การตราพระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลต่างๆ ภายหลัง พ.ศ.2417 ใน พ.ศ.2423  ได้มีการตราพระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียยงเหนือหรือมณฑลพายัพและประกาศ ‘’ พระราชบัญญัติลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา ‘’            ส่วนการเลิกทาสในมณฑลไทรบุรีและเมืองกลันตัน ก็ให้เป็นไปตามลักธิศาสนาเมืองนั้นๆ
2.4)  การตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 พ.ศ. 2448 โปรดเกล้าฯให้ตรา ‘’ พระราชบัญญัติเลิกทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ’’โดยกำหนดหลักการและวิธีการสำคัญๆ ในการปลดปล่อยทาสในมณฑลต่างๆ
ดังนั้น  สังคมไทยในสมัยปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัย  ระบบมูลนายกับไพร่และระบบมูลนายกับทาส จึงยุติลง

บรรณานุกรม