วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยรัตนโกสินทร์


พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยรัตนโกสินทร์
สังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ในระยะแรกๆมีลักษณะเหมือนกับสังคมไทยในสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี
ต่อมามีการติดต่อสัมพันธ์กับชาติตะวันตกมากขึ้น สังคมไทยจึงปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัย  จนกระทั่งเมื่อไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย สังคมไทยจึงเปลี่ยนแปลงไปภายใต้เสรีภาพที่กำหนดไว้ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญ

4.1  ลักษณะสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ( .. 2325-2394 )
สังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงมีลักษณะเช่นเดียวกับสังคมไทยสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี คือยังคง
เป็นสังคมศักดินา นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์  พระราชวงศ์  เจ้านาย  ขุนนาง  ไพร่  ทาส  และภิกษุสงฆ์
มีลักษณะ ดังนี้
1) พระมหากษัตริย์   ทรงเป็นประมุขสูงสุดของราชอาณาจักร พระองค์ทรงได้รับยกย่องจากพสกนิกรของพระองค์ว่า  พระองค์ทรงมีลักษณะเป็น สมมติเทพตามลัทธิความเชื่อในศาสนา พราหมณ์-ฮินดู
เป็น ธรรมราชาตามลัทธิความเชื่อในพระพุทธศาสนา
2) พระราชวงศ์  หมายถึง  เจ้านาย ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือญาติของพระมหากษัตริย์บางทีเรียกว่า
พระบรมวงศานุวงศ์ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  สกุลยศ กับ อิสริยยศ
   ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สกุลยศมีอยู่ 3 ตำแหน่ง  คือ  เจ้าฟ้า  พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า 
ส่วนอิสริยยศ คือ พระยศเจ้า ที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯให้เลื่อนขึ้น
  อิสริยยศที่สำคัญที่สุด ได้แก่  มหาอุปราช นอกจากนี้การได้รับตำแหน่งทรงกรมก็ถือเป็นอิสรยยศด้วยเหมือนกัน  ได้แก่ กรมหมื่น  กรมขุน  กรมหลวง และกรมสมเด็จพระ
๓)  ขุนนาง  คือบุคคลที่รับราชการแผ่นดิน  มีศักดินา  ยศ   ราชทินนาม  และตำแหน่งเป็นเคื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ  ถ้าจะกล่าวอีกันยหนึ่งขุนนางก้คือ  บรรดาข้าราชการของแผ่นดิน  ขุนนางที่มีศักดินา  ๔00  ไร่  ขึ้นไปจะได้รับโปรดเกล้า ฯ  แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์  แต่ถ้าศักดินาต่ำกว่า  ๔00  ไร่ ลงมา  จะได้รับแต่งตั้งจากเสนาบดี    ยศของขุนนางมี  ๘  ลำดับ จากสูงสุดลงมาจนถึงต่ำสุด  คือ  สมเด็จเจ้าพระยา  เจ้าพระยา   พระยา   พระ   หลวง   ขุน หมื่น และพัน
๔) ไพร่  คือ ราษฎรที่เป็นชายฉกรรจ์ที่มีความสูงเสมอไหล่  ๒  ศอกครึ่ง  จะ๔กมูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีไว้เพื่อเกณฑ์แรงงานไปใช่ในราชการต่างๆ 
                   ไพร่แบ่งเป็นประเภทตามสังกัดได้เป็น  ๒  ประเภท
๔.๑)  ไพร่หลวง  หมายถึง  ไพร่ที่พระราชทานแก่กรมกองต่างๆ  เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง  ไพร่หลวงแบ่งเป็น  ๒  ประเภท  คือ  ไพร่หลวง  ที่ต้องมารับราชการตามที่ทางกำหนดให้ หากมาไมได้ต้องให้ผู้อื่นไปแทนหรือส่งเงินมาแทนการรับราชการ และไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินแต่ไม่ต้องมารับราชการ  เรียกไพร่ประเภทนี้ว่า ไพร่หลวงส่วย
๔.๒)  ไพร่สม  หมายถึง  ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แกเจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทำราชการเพื่อประโยชน์  เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีเงินเดือน  การควบคุมไพร่ของมูลนาย  หมายถึง การได้รับผลประโยชน์ตอบแทน  เช่น  ส่วนลดจากการเก็บเงินค่าราชการของกำนันจากไพร่  เป็นต้น

๕)  ทาส  หมายถึง  บุคคลที่มิได้เป็นกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเองแต่กลับตกเป็นทาสของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส  นายมีสิทธิในการซื้อขายทาสได้ลงโทษทุบตีทาสได้  แต่จะให้ถึงตายไม่ได้  ทาสมีศักดินา  ๕ไร่   สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ทาสมีหลายประเภท  เช่น  ทาสสินไถ่ (ทาสไถ่มาด้วยทรัพย์)  ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย  ทาสที่ได้มาจากข้างฝ่ายบิดามารดา  เป็นต้น

๖)  พระภิกษุสงฆ์  เป็นผู้สืบทอดพระพุทธสาสนา  จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน  เป็นที่เคารพนับถือของคนไทยทุกระดับ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประมุขฝ่ายพระสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราชจะได้รับสถาปนาจากพระมหากษัตริย์
          พระภิกษุสงฆ์จะมีตำแหน่งสูงต่ำลดหลั่นกันไป  นับตั้งแต่พะภิกษุสงฆ์ธรรดา  พระครู  พระราชาคณะ  และสูงสุดคือ สมเด็จพระสังฆราชประมุขของคณะสงฆ์และมีศักดินาลดหลั่นกันไปตามลำดับ


๗) ชาวต่างชาติ   ที่อาศัยอยู่ในไทยโดยการอพยพหนีภัยมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารหรือถูกกวาดต้อนเข้ามา  จัดอยู่ในระบบไพร่ตามกฎหมายศักดินา 

 
                                กล่าวโดยสรปสภาพสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นสังคมศักดินาและอยู่ภายใต้พระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์  คนในสังคมอาจแบ่งตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ต่อกันออกเป็น  ๒  ประเภท  คือ  มูลนาย  ซึ่งประกอบด้วยเจ้านายและขุนนาง  และไพร่  ประกอบด้วยไพร่และทาสมูลนาย  คือ ผู้ปกครอง  และไพร่ คือ ผู้ถูกปกครองสำหรับพระภิกษุสงฆ์เป็นสถาบันสำหรับสืบทอดพระพุทธศาสนา  ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน  พระมหากษัตริย์  ขุนนาง  ไพร่  และทาส  สามารถบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ได้เหมือนกันทั้งหมด


ลักษณะสังคมไทยในยุคปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัย
              ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ ทรงมีพระราชดำริที่จะปลดปล่อยให้ ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ของพระองค์มีอิสระและเกียรติภูมิของความเป็นมนุษย์ของพลเมืองไทย   การปลดปล่อยที่สำคัญและได้ยกย่องว่าเป็นพระราชกรณียกิจ  ก็คือ  การยกเลิกระบบไพร่และทาส
1)              การยกเลิกระบบไพร่ เป็นการแปลงสภาพของคนไทยทั้งมวลให้พ้นจากสถานะของไพร่มาเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ เนื่องจากระบบไพร่มีมานาน ร.5 จึงทรงมีพระบรมราโชบายที่จะยกเลิกระบบไพร่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป  ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นการกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ที่บรรดาพระราชวงค์และขุนนางได้รับจากระบบไพร่
การยกเลิกระบบไพร่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนี้
1.1)     การจัดตั้งกรมทหารมหาเล็กรักษาพระองค์  ใน พ.ศ. 2413ทรงจัดตั้งกรมมหาดเล็กรักษาพระองค์  โยทรงเก็บเอาบรรดาพระราชวงค์และบุตรหลานขุนนางที่ถวายตัวทั้งผู้ใหญ่และเด็กเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
1.2)     การจัดตั้งกรมหน้า  พ.ศ.2423โปรดเกล้าให้จัดตั้งกรมทหารหน้า  โดยการรับสมัครบรรดาพวกไพร่ที่นายของตนตายหรือสินพระชนม์เป็นทหาร ‘’ ทหารสมัคร ‘’
1.3)     การประกาศใช้พระราชบัญญัติทหาร  พ.ศ.2431โปรดเกล้าให้ประกาศใช้ ‘’พระราชบัญญัติทหาร’’โดยกำหนดสิทธิหน้าที่ของพลทหารทั้งทหารบก  ทหารเรือ  พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ  10  ปี จึงจะเกษียณอายุ
1.4)     การประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ  พ.ศ.2431ทรงประกาศใช้ ‘’ พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ ‘’ มีหน้าที่บังคับผู้คนที่เกี่ยวกับทหารบก ทหารเรือ ตามแบบแผนใหม่
1.5)     การจัดระบบจ่ายเงินค่าราชการของไพร่ พ.ศ.2439ได้ประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่เข้าเดือนประจำการต้องเสียเงินแทนค่แรงปีละ 18 บาท  ส่วนไพร่หลวงถ้าไม่ส่งของต้องส่งเงินแทนตั้งแต่  6  บาท  ถึง  12  บาท  ตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่งและตั้งแต่  พ.ศ.2440 เป็นต้นไป
1.6)     การตราพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร พ.ศ.2448โปรดเกล้าให้ตรา ‘’ พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 ’’ กำหนดให้ชายฉกรรจ์ทีมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์รับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี  แล้วปลดไปอยู่ในกองหนุน ผู้ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว
***ดังนั้น  การประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารเมื่อ พ.ศ.2448 จึงถือเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มีมานานหลายศตวรรษ
2)              การเลิกทาส ในการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเอง จำเป็นต้องดำเนินการค่อยเป็นค่อยไป  การยกเลิกทาสโดยฉับพลันย่อมกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่มีทาสอยู่ในความครอบครองตลอดจนความเคยชินของทาสที่เคยมีผู้ปกครองดูแลมาตลอด
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเตรียมการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอน  ดังนี้
2.1)การวางข้อกำหนดเพื่อตระเตรียมการเลิกทาส  พ.ศ.2417ได้มีการประกาศให้ผู้เป็นทาสได้ทำการสำรวจจำนวนทาสของตนที่จะเข้าข่ายของเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติที่จะออกมาในระยะไล่เลี่ยกัน เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
2.2)  การประกาศใช้พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาส ลูกไทยภายหลังการประกาศแผนการที่เตรียมการเลิกทาสใน พ.ศ. 2417  ก็ได้มีการประกาศใช้ ’’ พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาส ลูกไทย ‘’ซึ่งมีรายละเอียดหลายประการ  แต่ที่สำคัญ คือ ถ้าลูกทาสคนใดที่ถูกขายตัวเป็นทาส และเกิด พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่ร.5เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นต้นมาจนถึงอายุ 21 ปี ให้พ้นจากการเป็นทาสทันที  ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2447 ก็ยังคงเป็นทาสต่อไปตามกฎหมายเดิม
2.3)  การตราพระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลต่างๆ ภายหลัง พ.ศ.2417 ใน พ.ศ.2423  ได้มีการตราพระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียยงเหนือหรือมณฑลพายัพและประกาศ ‘’ พระราชบัญญัติลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา ‘’            ส่วนการเลิกทาสในมณฑลไทรบุรีและเมืองกลันตัน ก็ให้เป็นไปตามลักธิศาสนาเมืองนั้นๆ
2.4)  การตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 พ.ศ. 2448 โปรดเกล้าฯให้ตรา ‘’ พระราชบัญญัติเลิกทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ’’โดยกำหนดหลักการและวิธีการสำคัญๆ ในการปลดปล่อยทาสในมณฑลต่างๆ
ดังนั้น  สังคมไทยในสมัยปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัย  ระบบมูลนายกับไพร่และระบบมูลนายกับทาส จึงยุติลง

6 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครับ ว่าจะนำไปทำรายงานพอดีเลยครับ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณครับ ช่วยในการทำรายงานได้มากเลยครับ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณนะคะเนื้อหาดีมากๆเลยค่ะ ช่วยในการทำรายงานได้เยอะมากๆเลยค่าา

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณครับที่ทำให้ผมทำเสร็จงานประวัติศาสนะครับบบบ

    ตอบลบ
  5. 4x8 sheet metal prices near me - Titanium Art
    A complete 4x8 sheet metal prices near me with winnerwell titanium stove 3D models, which titanium forging are compatible with the Sega Genesis. 토토사이트 Includes nier titanium alloy new models, accessories, and damascus titanium service.

    ตอบลบ